4304 จำนวนผู้เข้าชม |
Why do people like to raising rabbits with therapeutic food?
เหตุใดคนจึงเริ่มนิยมให้กระต่ายเลี้ยงกินอาหารเชิงบำบัด
โดย ผศ. น. สพ. ดร. สมโภชน์ วีระกุล ( หมอแก้ว)
เรื่องที่หมอกระต่ายต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และผู้เลี้ยงตามเทรนสุขภาพทัน
ในปัจจุบันทั่วโลก ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่ใส่ใจในคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น จากสิ่งแวดล้อมและโภชนาการ ทุกคนต้องการสุขภาพที่ดีขึ้น กระแสการดูแลสุขภาพจึงตื่นตัวไปทั้งโลก ในสัตว์เลี้ยงก็เช่นกัน ผู้คนจำนวนมากหันมาให้ความใส่ใจเพื่อนรักในบ้านของเขากันมากขึ้น รวมทั้งระบบของรัฐด้านสวัสดิภาพสัตว์ จนบางประเทศมีกฏหมายคุ้มครอง ถึงขนาดบังคับผู้เลี้ยงสัตว์ต้องพาสัตว์ออกไปเดินเล่นเพื่อสุขภาพกายและใจ เช่น ออสเตรเลีย ผลที่ได้ไม่เพียงแต่สัตว์ได้รับประโยชน์ คนเลี้ยงกลับได้ประโยชน์มากกว่ากับกิจกรรมนอกบ้าน
การเลือกอาหาร จึงมุ่งเน้นไปที่คุณภาพ สัดส่วนของความต้องการด้านโภชนาการที่จำเพาะมากยิ่งขึ้น ปริมาณพลังงานที่เพียงพอ และเสริมในส่วนที่เป็นประโยชน์ในเชิงสุขภาพ
บางคนรับประทานเพื่อป้องกัน บางคนต้องรับประทานเพื่อรักษา ขึ้นอยู่กับว่าใครรู้จักสุขภาพและใส่ใจมากและเร็วต่างกัน รับประทานเพื่อป้องกันจึงน่าจะดีกว่าเราป่วยเสียแล้ว
ทำไมจึงเริ่มมีความนิยมอาหารเชิงบำบัด แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง...?
ในที่นี้จะกล่าวถึงกระต่ายเสียก่อน เพราะซับซ้อน มีผู้คนเข้าใจผิดมาก และอาจกำลังพยายามเลี้ยงให้ดีกว่า สัตวแพทย์เองได้สร้างความเข้าใจและแนะนำได้อย่างเหมาะสม
เพราะอาหารที่ดีช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบทางเดินอาหาร การขาดสารอาหาร การได้รับอาหารส่วนเกินหรือสารพิษ
ให้ได้รับพลังงานจากชนิดอาหารที่เหมาะสม และจำเพาะต่อชนิดสัตว์ เช่น ลูกกระต่ายในช่วงกำลังเจริญเติบโต ระบบการหมักอาหารต้องเติบโตให้ไว การเลือกอาหารหรือวัตถุดิบในการหมักจึงจำเป็น เพื่อให้เกิดการสังเคราะห์กรดไขมันกลุ่มโปรปิโอนิค (propionic acid) มากขึ้น เพราะช่วยในการสร้างกรดอะมิโนซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนในการพัฒนาของร่างกาย ที่เหลือเป็นอะซิติก (acetic) หรือบิวทิริก (butyric) และอาหารหรือหญ้าที่มีความข้นของแป้งมาก จะทำให้ผลิตบิวทิริกมาก มีผลทำให้เกิดการบีบตัวของทางเดินอาหารลดลง เป็นเหตุให้เกิดลำไส้อืดและลำไส้อักเสบในลูกกระต่าย
จากหัวข้อดังกล่าว สัดส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งในอาหารกระต่ายมาตรฐานที่ต้องมีก่อน คือ การควบคุมระดับของเยื่อใยอาหารชนิดต่างๆ ได้แก่ เพกติน เฮมิเซลลูโลส เซลลูโลส และลิกนิน ซึ่งอาหารชั้นนำในเมืองนอกและไทยหลายแบรนด์พยายามผลิตให้ระดับเยื่อใยหยาบ (crude fibers) ให้เกิน 20% เพราะเชื่อว่าเยื่อใยระดับนี้จะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของทางเดินอาหาร
กลไกมีอยู่ว่า ร่างกายจะอาศัยเยื่อใยย่อยไม่ได้ (indigestible fibers) ไปกระตุ้นที่ระบบประสาทอัตโนมัติของลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า ฟิวซัสคอไล (fusus coli) ดังนั้นอาหารที่ดีจริงและเหนือมาตรฐานจึงขึ้นกับว่า ควรจะมีสัดส่วนของเยื่อใยทั้ง 4 ชนิดนั้นเท่าใด ชนิดใดทำหน้าที่เป็นแหล่งหมัก เป็นตัวปั้นก้อนมูลอ่อน เป็นตัวกระตุ้นระบบประสาทลำไส้ จึงจะเป็นอาหารเชิงบำบัดได้ ไม่ใช่แค่เยื่อใยหยาบเสียแล้ว
ระดับวิตามินและแร่ธาตุ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ ตัวอย่างสมัยก่อนอาหารกระต่ายจะจำกัดแคลเซียม เพราะกลัวการเกิดปัสสาวะขุ่น (hypercalciuria) และนิ่ว (urolithiasis) จนส่งผลให้เกิดภาวะผิดปกติของมวลกระดูกในกระต่ายโตเต็มวัย (osteopenia) จนทำให้กระดูกสันหลังถูกกด (vertebral compression) ยิ่งอายุมากยิ่งเดินลำบาก และฟันเจริญไม่สมบูรณ์ จึงทำให้อายุขัยน้อยกว่าที่ควรจะเป็น อาหารกระต่ายแต่ละวัยจึงเกิดยุคใหม่ที่ปรับสมดุลแร่ธาตุที่ดีและเหมาะกว่า ลดปัญหาด้านโภชนาการในอดีต
ช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีจากโปรไบโอติกส์ ทั้งจากตัวจุลินทรีย์ที่ดีที่ปกป้องลำไส้และกำจัดเชื้อแล้ว บางชนิดช่วยกระตุ้นการสร้าง IgM, IgG และโดยเฉพาะ IgA เช่น Bifiobacterium (Park and Kim, 2002) ที่สามารถสร้างอิมมูโนกลอบูลินเหล่านี้จากต่อมน้ำเหลืองมีเซนเทอริก (MLN) และเพเยอร์แพท (Payer’s Patch)
นอกจากนี้สารเสริมกลุ่มพวกสารสกัดตามธรรมชาติ เริ่มมีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะสัตว์ไม่ได้หากินตามธรรมชาติ จึงขาดโอกาสในการได้รับพืชและสมุนไพรที่ดี สารสกัดจากพืช เช่น ฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ อัลคาลอยด์ ที่มีชื่อแยกประเภทออกไปอีกมากมาย เป็นที่ประจักษ์มากขึ้น ในเรื่องการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความชรา ต้านมะเร็ง ลดความเจ็บปวด กระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือใช้บำรุงและรักษาอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้คือตำรายาและอาหารเสริมสำคัญในปัจจุบัน
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมกระต่ายที่ถูกเลี้ยงอย่างเอาใจใส่ จึงหันไปใช้กลุ่มอาหารเชิงบำบัดแทนอาหารมาตรฐานทั่วไป
เพราะความคุ้มค่าด้านสุขภาพคือสิ่งที่พวกเราและเขาต้องการมากที่สุด
ขอแนะนำอาหารขนิดเดียวที่จะเข้าข่ายอาหารเชิงบำบัดได้ เช่น อาหารของแรนดอล์ฟ
RANDOLPH BUNNY SENIOR และ BUNNY CARE และอาหารฟื้นฟูอย่าง RABBIT CARE สูตร QBA+PA Plus
ซึ่งเราเชื่อว่า อีกไม่นาน อาหารในประเภทเดียวกันนี้จะถูกผลิตออกมาเพื่อตอบสนองด้านสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น