น้องลามูสมาชิก รพส.ขวัญคำวัชรพล

น้องลามูสมาชิก รพส.ขวัญคำวัชรพล

ผู้เยี่ยมชม

  นกกระตั้วกาล่าชอบกัดขนหางตัวเอง (42 อ่าน)

7 ม.ค. 2568 22:22

นกกระตั้วกาล่าเพศผู้ อายุ1ปี6เดือน ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงดี แต่น้องมีพฤติกรรม ชอบกัดแทะเฉพาะขนหางตัวเองทุกเส้นจนขนหางหักเหลือแต่ตอ ตอนนี้สภาพน้องเป็นนกที่มีขนปีกขนตัวนุ่มสวย แต่หางกุด



เรียนถามสัตวแพทย์ว่า กรณีที่นกกระตั้วกาล่า ขนหางกุดทุกเส้น จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการผสมพันธุ์หรือไม่

ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ

น้องลามูสมาชิก รพส.ขวัญคำวัชรพล

น้องลามูสมาชิก รพส.ขวัญคำวัชรพล

ผู้เยี่ยมชม

อ.แก้ว

อ.แก้ว

ผู้เยี่ยมชม

8 ม.ค. 2568 21:17 #1

จากประวัติแม้จะดูไม่เกี่ยวกันกับประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ์ เพราะปัญหาของระบบสืบพันธุ์ในนกมักเกี่ยวกับความสมบูรณ์พันธุ์ โภชนาการ ฤดูกาล พฤติกรรมตามธรรมชาติ และการเข้าฝูง แต่ในเชิงพฤติกรรมอาจมีผลกับระบบสืบพันธุ์ได้ครับ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะเล่าเท่าที่ได้ประวัติอาการมา

นกที่มีสุขภาพปกติแต่มีการแทะขนตัวเอง feather picking เรียกรวมว่า self-mutilation แบ่งออกเป็นสาเหตุได้จาก ปัญหาด้านพฤติกรรมหรือสภาวะจิตใจ ทำให้เกิดการกัดแทะขน มักเกิดจากปัญหาจากสิ่งแวดล้อม ถูกรบกวน หรือเลี้ยงหนาแน่น ในทางตรงข้่ามอาจเพราะไม่มีฝูงเลยหรือขาดสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าตามธรรมชาติ ในกรณีนี้มักจะต้องทำการส่งเสริมพฤติกรรมหรือ enrichment ซึ่งมีหลากหลายวิธีสำหรับกาล่าครับ และกาล่ามีความฉลาดและไวต่อความรู้สึกเช่นเดียวกับกระตั้วพันธุ์อื่นๆ การเอาใจใส่จึงสำคัญ ในทางวิจัยพบว่าเมื่อเกิดความเครียดในนก จะมีการสร้างสารที่เรียกว่า โดปามีนมากผิดปกติ และเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมนี้ร่วมกับพฤติกรรมการทำซ้ำ เช่น เดินไปเดินมาซ้ำๆ หรือเรียกร้องความสนใจ

อย่างไรก็ตาม การแทะยังเกิดได้ตามพันธุกรรม การพบปาราสิตภายในที่ทำให้เกิดอาการคัน เช่น Giardia จะพบความสัมพันธ์กับการกัดแทะมากขึ้นได้ การพบปาราสิตภายนอกเมื่อเลี้ยงรวมกับสัตว์ปีกชนิดอื่นๆก็พบได้ที่ทำให้เกิดอาการคันบางเวลาตามพฤติกรรมหากินของเชื้อไรเหล่านั้น และยังเกิดได้จากการขาดสารอาหารแต่ในกรณีจากอาการนี้มักไม่สัมพันธ์ เช่นเดียวกันกับโรคทางฮอร์โมนที่เกิดได้ในนกแต่ในกรณีนี้อาการไม่สัมพันธ์ หรือโรคติดเื้อไวรัสก็ไม่สัมพันธ์เพราะขนมักจะร่วงทั้งตัวเป็นส่วนใหญ่และไม่มีอาการทางคลินิกในภาวะตัวอมโรค

หางกุดอาจมีผลในขั้นตอนการเกี้ยวพาราสี การจับคู่ รวมทั้งพฤติกรรมที่พบและสาเหตุที่อาจเกิดจากความเครียดและมีผลกับการหลั่งโดปามีน และคอร์ติซอล มักจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม และคุณภาพของอสุจิหรือน้ำเชื้อ อันนี้อาจจะเป็นสาเหตุของการผสมพันธุ์ไม่สำเร็จมากกว่าหางกุดด้วยซ้ำครับ แต่ลองพิสูจน์ก็น่าจะดีครับ เบื้องต้นลองหาสาเหตุของการแทะขน อาจใช้วิธีทดสอบว่าเป็นการแทะขนจากภาวะเครียดหรือไม่ โดยการเสริมสิ่งกัดแทะ เช่น กิ่งไม้ ผลไม้ หรือเมล้ดเปลือกแข็ง และแก้ไขปัญหาอื่นๆ ตามที่อาจเป็นสาเหตุทีละปัจจัย ทั้งสิ่งแวดล้อม โภชนาการ และการรวมฝูง เป็นต้น

อ.แก้ว

อ.แก้ว

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้