PITTAYA  THAOSOMBUT

PITTAYA THAOSOMBUT

สมาชิก

  มีความสงสัย และคิดไม่ตกครับ ...*หากผิดกฎ หรือสร้างความลำบากใจ กราบขออภัยแอดมิน และเพื่อนๆร่วมบอร์ดด้วยครับ* (80 อ่าน)

4 ก.ค. 2567 12:38

มีคนเคยหล่นคำพูด วาจา เอาไว้ว่า...



หมอ exotic pets ก็คือหมอรักษาหมา-แมว (companion animals) ...ที่สามารถตรวจ +รักษา exotic pets ได้นั่นแหละ

ไม่ทราบว่าจริง หรือไม่จริง ...หรือควรให้น้ำหนักกับคำพูดนี้มาก/น้อยเพียงใดครับ



ขอบคุณครับ T^T"

PITTAYA  THAOSOMBUT

PITTAYA THAOSOMBUT

สมาชิก

อ.แก้ว ขวัญคำ

อ.แก้ว ขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

4 ก.ค. 2567 20:00 #1

ในแบบเรียนตามหลักสูตร ผู้เรียนจะได้เรียนในเรื่องสุนัขแมวเป็นตัวแทนของสัตว์เลี้ยง และยังมีปศุสัตว์เช่น สุกร โค ไก่ แพะแกะ และอื่นๆ เป็นวิชาพื้นฐาน และในหลักสูตรหลายมหาวิทยาลัยจะเพิ่มเติมในส่วนของสัตว์ชนิดอื่นๆ และสัตว์ป่า รวมทั้งสวนสัตว์ให้ได้เรียน จะเข้มข้นมากน้อยแล้วแต่หลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัย ดังนั้นผู้ที่เรียนจึงได้มีโอกาสเรียนทุกสาขาและแตกต่างกัน

แต่ไม่ว่าจะสาขาใด ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ และแขนงอื่นๆ เป็นอย่างดี แต่ต่อยอดเรียนเพิ่มขึ้นในสาขาที่ตนเองสนใจ เช่น หมอกระดูก หมอระบบประสาท หมอหัวใจ และอื่นๆ เพื่อเพิ่มพูนทักษะของตนเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้หมอมีความแตกต่างกัน ไม่ได้จำแนกว่าใครต้องเป็นอะไร อยู่ที่ความสนใจของหมอคนนั้นๆเอง ถ้าจะเลือกสนใจหลายสาขาก็เก่งมากๆ หรือเลือกทำสัตว์หลายชนิดก็ยิ่งต้องมีพื้นฐานดีและเปรียบเทียบสัตว์แต่ละชนิดระหว่างกันได้ สมัยนี้ไม่ได้เปรียบเทียบแค่กับสุนัข แมว หรือปศุสัตว์ ยังจำเป็นต้องอัพเดตข้อมูลทางการแพทย์ไว้ด้วย เพราะพื้นฐานการเรียนสัตวแพทย์ก็ได้ความรู้ที่พัฒนาแล้วมาจากแพทย์บางส่วน

หมอที่รักษาเอกโซติกจึงไม่ได้มีแต่ประเภทเดียวหรือประเภทที่รักษาเฉพาะเอกโซติก เพราะพื้นฐานที่ดีมาจากพื้นฐานเดียวกัน และองค์ความรู้ในสัตว์ต่างๆยิ่งได้มากยิ่งแน่นเพราะนำไปเปรียบเทียบนำไปใช้ได้ หรือคนที่มีพื้นฐานสุนัขและแมวดี หากตั้งใจเรียนในเอกโซติกก็จะทำได้ดี เพราะเปรียบเทียบได้และเคยผ่านงานที่ลึกซึ้งมาแล้ว เช่น หมอโรคหัวใจในสุนัขที่พัฒนามาเป็นหมอโรคหัวใจในเอกโซติกด้วยก็สามารถทำได้ดี ขณะที่หมอเอกโซติกบางท่านก็อาจจะไม่ได้โรคหัวใจเลย อันนี้แค่ยกตัวอย่างว่า ไม่ว่าเราจะเป็นหมอด้านใด สิ่งที่ต้องเรียนพื้นฐานก็มีอยู่แล้ว

จึงไม่น่าแปลกใจที่หมอจำนวนมากจะทำได้แบบ zoological med เหมือนกับหมอสวนสัตว์และหมอสัตว์ป่าทั้งหลาย ที่ต้องมีพื้นฐานสารพัด และยังต้องแม่นโรคในแมวเพื่อรักษาเสือและสิงโต ต้องแม่นในสุนัขเพื่อรักษากลุ่มใกล้เคียง หรือปศุสัตว์ เพื่อรักษากวาง สัตว์กินพืช สัตว์ปีก และอื่นๆ ทิ้งความรู้เหล่านี้ไปไม่ได้

แต่บางคนที่เขาไปเฉพาะทางเขาอาจจะไม่เลือกที่รักษาสัตว์ชนิดอื่นๆเลยก็ได้ ทั้งที่ก็เรียนมาครับ ทำตามความสนใจของตนเอง จึงเกิดเป็นหมอหลายรูปแบบ

พวกเขาก็อาจจะไปเรียนเพิ่มเติมต่อยอดในสาขานั้นๆ บางคนก็รียนเอาทุกอย่าง หมอรักษาเอกโซติกที่ทำเฉพาะเอกโซติกก็มี และหมอที่ทำสารพัดสัตว์ก็มี หรือหมอที่เลือกจะทำเฉพาะแมว หรือสุนัขก็ยังมี ก็ขึ้นกับว่าเขาสนใจและเข้าใจมากน้อยแค่ไหนในแต่ละคน ทั้งนี้สัตวแพทย์ที่จะเก่งจริงๆ ต้องเรียนรู้พื้นฐานมาเป็นอย่างดี และพื้นฐานที่ดียังมาจากสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ที่เรียนหลักนั่นเอง

ผมสร้างความเข้าใจภาพรวมกว้างๆ ให้ข้างต้นแล้ว แต่จะสรุปโดยให้ตอบคำถามคำพูดนั้น... หมอเอกโซติกอาจไม่ใช่หมอที่รักษาสุนัขและแมวเลยก็ได้ เพราะเขาเลือกจะทำแค่สัตว์กลุ่มนั้น และบางท่านอาจจะรักษาทั้งหมดทั้งสุนัขแมวและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ หรือบางท่านที่ทำเฉพาะสุนัขและแมวและไม่ทำเอกโซติกก็มีมากเป็นส่วนใหญ่ เพราะไม่ถนัด และทำไม่ได้เลยก็มีมาก บางคนพอทำเอกโซติกก็ไม่สนใจจะทำสุนัขและแมวหรือสัตว์ชนิดอื่นก็มีมากครับ เป็นเรื่องปกตินั่นเอง ถ้าจะเปรียบเทียบ ก็เพราะความสนใจทำให้แต่ละตนเดินคนละแบบคนละเส้นทาง เช่นเดียวกันกับหมอที่สนใจหัวใจและเก่งโรคหัวใจมากๆ อาจจะทำออโธปิดิกส์ไม่ได้ หรือไม่ได้อยากทำ

แต่คนที่เขาไม่เข้าใจเขาก็เรียกคนที่ทำสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษว่าหมอเอกโซติก แต่พอเห็นทำการรักษาสุนัขและแมวด้วยก็อาจจะแปลกใจ เพราะกลุ่มคนที่เรียนแบบสารพัดสัตว์แบบเปรียบเทียบบูรณาการความรู้นั้นในเมืองไทยและเมืองนอกมีอยู่เยอะมากครับ เขาไม่ได้แยกด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นหมอประเภทไหน เขาก็รู้ว่าเป็นสัตวแพทย์นั่นแหละครับ และตามหลักสูตรของหลายมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ให้ผู้เรียนต้องแยกไปเป็นหมอด้านใด เพราะผู้เรียนต้องเรียนและสอบทั้งบรรยายและปฏิบัติการได้ในสัตว์ทุกชนิดครับ พอจบก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะเอายังไง จะรักษาอะไร

อ.แก้ว ขวัญคำ

อ.แก้ว ขวัญคำ

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้