2952 จำนวนผู้เข้าชม |
เรื่องที่บางคนอ่านเข้าใจ บางคนอาจไม่เข้าใจแม้ว่าจะอ่านเป็นสิบรอบ เพราะมันคือศาสตร์ด้านสรีรวิทยา และอาจจะธรรมดามากๆสำหรับคนที่เคยเรียนมาแล้ว อ่านเรื่องล้ำๆประเทืองปัญญากัน ถึงกึ๋น!
มีบางอย่างที่เราเข้าใจผิดในด้านการพัฒนากล้ามเนื้อในไก่ชน เราเลี้ยงไก่และรู้จักไก่มายาวนาน เลี้ยงกันมาตั้งแต่เด็กแต่เล็ก แต่กลับไม่เข้าใจเรื่องการทำงานของระบบภายในร่างกาย โดยเฉพาะกลไกของกล้ามเนื้อและทำอย่างไรกล้ามเนื้อจึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราพยายามใช้อาหารและยาโด้ปกันมากมาย แต่ใช้ผิดใช้ถูก
คนเลี้ยงไก่ที่เน้นแต่การใช้ยาโด้ปนั้น ถือว่ายังไปไม่ถึงดวงดาว ยาโด้ปมีหลายชนิด ทั้งโด้ปเลือด โด้ปสารสร้างเม็ดเลือดแดง โด้ปยาขยัน โด้ปยากระตุ้นประสาท โด้ปยากระตุ้นกำหนัด โด้ปเครื่องดื่มชูกำลัง ปัจจุบันโด้ปโปรตีนสูงๆ นี่ยิ่งไปไม่ถูกทาง เช่น เวย์โปรตีน กรดอะมิโนจำนวนมากที่ใช้ในการเพาะกาย บ้างใช้สารเพิ่มการสร้างกล้ามเนื้อเข้ามาช่วย เช่น ฮอร์โมนเพศชาย และสเตียรอยด์ เป็นต้น
ในการใช้ยาโด้ปกลุ่มโปรตีนหรือเครื่องดื่มชูกกำลังจะให้เหตุผลของความไม่เหมาะสมอีกที แต่จะกล่าวถึงการโด้ปพวกยาหรือสารกระตุ้นกันก่อน การใช้สารกระตุ้นให้คึกคักนั้น จะเร่งให้ไก่ออกชนแบบรวดเร็วและรุนแรง ได้ความดุดัน กระปรี้กระเปร่าสมใจเจ้าของ แต่จะกระตุ้นให้เกิดการใช้พลังงานเพียง 2 รูปแบบ คือ ในวินาทีต้นๆ ไก่ชนจะใช้พลังงานแบบฟอสฟาเจน (phosphagen) หรือการเปลี่ยนฟอสฟอครีเอทีนไปเป็นครีเอทีน ทำให้จ่ายหมู่ฟอสฟาริลไปให้ ADP เปลี่ยนไปเป็น ATP ซึ่งจะได้พลังงานอย่างรวดเร็ว พวกนักกีฬาวิ่ง 100 เมตร ที่ใช้เวลาแค่ไม่กี่วินาทีจะใช้พลังงานรูปแบบนี้ และหากวิ่งต่อไป การใช้กล้ามเนื้อกลุ่มกล้ามเนื้อขาว หรือเรียกว่า Fast Twitch จะเป็นรูปแบบการใช้พลังงานแบบไร้ออกซิเจน ในรูปแบบที่สองนี้ จะเกิดการสะสมกรดแลคติก (lactic acid) เมื่อเกิดการสะสมจะทำให้ร่างกายเกิดความเมื่อยล้าจนถึงเป็นตะคริว แม้ว่าจะให้ยากระตุ้นในครั้งที่สอง ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะร่างกายเกิดการยับยั้งการใช้พลังงานเสียแล้ว ผลเสียยิ่งตามมาในภายหลัง ในไม่กี่วันหลังจากชน ไก่มักจะเสียชีวิตหรือร่างกายฟื้นตัวช้า จากการเสื่อมของกล้ามเนื้อ และมีการผลิตไมโอโกลบินออกมามาก ปกติร่างกายจะขจัดออกไปได้ดี แต่มีมากจะเป็นพิษอย่างรุนแรงและทำให้ไก่ชนตาย นี่เป็นผลเสียจากการใช้สารกระตุ้นแบบไม่เข้าใจ หมายความว่าใช้ได้ถ้าเรียนรู้การใช้ให้ถูกวิธีและได้เปรียบคู่ต่อสู้แน่นอน
การจะพัฒนาไก่ให้แกร่ง ปราดเปรียว และอดทนสูงนั้น มีหลักอยู่หลายประการ
ประการต้นๆ เช่น ทำอย่างไรจึงจะเกิดการสะสมของกรดแลคติกน้อยลง ได้แก่ การฝึกซ้อมไก่จะช่วยพัฒนาการไหลเวียนเลือดและการหายใจ ทำให้ระดับ lactate threshold สูงขึ้น หรือมีความทนทานกับการสะสมกรดแลคติกมากขึ้น มีการกำจัดภาวะกรดนี้ออกจากร่างกายได้ดี คนทั่วไปมักจะนึกถึงการหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออก นั่นคือหายใจหอบมากขึ้น การไหลเวียนเลือดดีขึ้นเพื่อถ่ายเทของเสียทั้งในรูปการหายใจและผ่านตับและไต แต่คนน้อยมากที่จะเข้าใจถึงวัฏจักรคอริ (Cori cycle) ที่ช่วยเปลี่ยนแลคเตตนี้กลับไปเป็นกลูโคสและนำไปใช้ได้อีก แสดงว่าเราจะทำอย่างไรให้ระบบการหายใจดี การไหลเวียนเลือดดี การกำจัดของเสียดี และอวัยวะที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสารพิษแบบแลคเตตทำหน้าที่ได้ดี อันนี้ไม่อาจจะกล่าวให้ทราบได้ เพราะเป็นความลับเชิงลึกของอาหาร แต่ผู้ที่รู้จักวัฏจักรนี้คงร้อง “อ๋อ!”
ประการต่อมา ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดการสะสมกรดแลคติก ซึ่งมันเป็นไม่ได้ที่จะไม่เกิดการสร้างกรดชนิดนี้ เพียงแต่ว่าไก่จะทนในระดับที่สะสมได้มากแค่ไหน หรือที่จริงเราสามารถเปลี่ยนแปลงให้มันเกิดขึ้นในระดับต่ำตั้งแต่ต้นได้ สิ่งที่ทำได้คือการเพิ่มการไหลเวียนเลือด และการเพิ่มระดับออกซิเจน ไก่ซ้อมดีย่อมได้เปรียบ แต่หัวใจอยู่ที่หลักการหลัก ดังนี้ กลูโคสหรืออาหารที่ได้จากแป้ง คนลี้ยงไก่มักนิยมให้ข้าวเปลือกหรือรำ เพราะมันเป็นพลังงานหลัก เมื่อมันเปลี่ยนเป็นกลูโคสมันจะเข้าสู่กระบวนการไกลโคไลสิส (Glycolysis) จะกลายไปเป็นไพรูเวต เป็นกระบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic cellular respiration) และเปลี่ยนไปเป็นกรดแลคติกหรือแลคเตตนั่นเอง เราห้ามสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไรกันดี แต่เป็นเพราะไพรูเวตไม่ได้เปลี่ยนไปเป็นกรดแลคติกเท่านั้น แต่ยังถูกแย่งให้เข้าสู่กระบวนการใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจน (aerobic cellular respiration) ในไมโตคอนเดรีย ไพรูเวตซึ่งเป็นสารตั้งต้นเข้าสู่วัฏจักรเครปส์ (Krebs cycle) และอิเลกตรอนทรานสปอร์ต ซึ่งให้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนนี้เท่ากับ 36 ATP ซึ่งมากกว่าการใช้กลูโคสไปเป็นไพรูเวตและแลคเตตเฉยๆ ถึง 18 เท่า ถามว่าเราอยากให้ไก่ชนมีพลังงานแบบไหน แบบแรกที่ได้แค่ไม่กี่ ATP หรือได้แบบท่วมท้น คำตอบคือแบบใช้ออกซิเจนหรือแบบที่สอง คนเลี้ยงไก่ที่เป็นชาวบ้านทั่วไปคงไม่ทราบเรื่องนี้แน่ แต่เดี๋ยวนี้คนเลี้ยงไก่เก่งๆทั้งนั้นมีพื้นฐานความรู้กันมากขึ้น ไม่งั้นคงไม่มียาโด้ปหรืออาหารจอมพลังกันมากมายแล้วขายและใช้กันอย่างครึกโครม จะมีสักกี่คนเข้าใจมันจริงๆ
ต่อมา เราตั้งใจจะดึงไพรูเวตเข้าสู่กระบวนการสร้างพลังงานแบบใช้ออกซิเจน แล้วต้องทำอย่างไร
คำตอบคือ การฝึกซ้อมไก่ให้รู้จักการหายใจ การเต้นของหัวใจที่ดี เพื่อเพิ่มระดับความทนทานต่อกรดแลคติก และเป็นการถ่ายเทออกซิเจนที่เพียงพอแก่เซลล์กล้ามเนื้อ
และอาหารช่วยได้หรือ
คำตอบคือช่วยได้ เราเข้าใจกันแล้วว่าอาหารบางชนิดที่มักถูกเพิกเฉยในวงการนี้หรืออาหารสัตว์ปีกในบ้านเราไม่ค่อยทราบ มันมีประโยชน์สูงสุด เพราะมันจะถูกนำมาทดแทนการใช้กลูโคส และเข้าสู่วัฏจักรเครปและอิเลกตรอนทรานสปอร์ตโดยตรง โดยไม่ผ่านกระบวนการกไกลโคไลสิสที่จะได้กรดแลคติก อาหารกลุ่มนี้จึงจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้สัตว์มีการใช้พลังงานอย่างสม่ำเสมอ (แบบใช้ออกซิเจน) ไก่ที่ได้รับอาหารประเภทนี้ร่วมกับการใช้พลังงานแบบมีออกซิเจน จะมีความทนทานและกระปรี้กระเปร่าสูงกว่าเป็น 10-20 เท่า สารอาหารนี้ก็ขอเก็บเป็นความลับ แต่อย่างที่บอกคนเขารู้ อ่านปุ๊บรู้ปั๊บ บางคนรู้ก็อาจจะเอาไปก็อปปี้ขาย เสียของกันพอดี
ซึ่งสิ่งเหล่านี้พวกโด้ปโปรตีนสูงๆ ช่วยไม่ได้หรือไม่มีประโยชน์เมื่อเข้าสู่สนามไก่ชนไปแล้ว เพราะไม่ได้ให้พลังงาน แล้วจะกินไปเพื่ออะไร
กินเพื่อสิ่งนี้...
อาหารโปรตีนสูงมีประโยชน์ในด้านการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ในยามนอน พักซ้อม และพักฟื้น เมื่อร่างกายและกล้ามเนื้อถูกเค้น จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของเซลล์พวกแซทเทลไลต์หรือไมโอบลาสต์ มันจะแทรกซึมเข้าสู่เส้นใยกล้ามเนื้อย่อย (myofibrils) ขณะที่กล้ามเนื้อพักและยังนำพาเอาโปรตีนแทรกซึมเข้าไป พวกที่มีการฝึกซ้อมที่ได้จะสามารถเพิ่มจำนวนแซทเทลไลต์ได้ดี ทำให้กล้ามเนื้อมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งในไก่ชนนั้นจะดีกว่าในคนหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพราะนำโปรตีนเข้าไปใช้ได้ดีกว่า ไก่ที่ซ้อมดี รู้จักพักให้เหมาะสม และได้โปรตีนในระดับที่เพียงพอจึงมีกล้ามเนื้อมัดใหญ่ขึ้น แต่กล้ามเนื้อมัดใหญ่ไม่จำเป็นต้องทนทานหรือแข็งแกร่งเสมอไป หรือไม่จำเป็นว่าจะทำให้ระดับของความทนต่อการสะสมแลคติกสูงขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ยังขึ้นกับการใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนที่กล่าวไว้ข้างต้นอยู่ดี ไม่งั้นคงเอาพวกเล่นเพาะกายไปวิ่ง 100 เมตรหรือวิ่งมาราธอนเก่งกว่าคนอื่นๆ มันจึงเกิดจากการฝึกใช้กล้ามเนื้อแบบผสมผสาน
“จ้าวพายุ” มีสิ่งเหล่านี้ให้กับไก่ชน ถูกเตรียมเอาไว้เพื่อกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ และยังเพิ่มสมรรถนะในการใช้พลังงาน ทำให้ไก่มีความทนทาน และแข็งแกร่ง แต่คงไม่พอแค่นี้แน่ๆ
จำกันได้หรือไม่ว่า สิ่งสำคัญต่อมาคือ
1. การเปลี่ยนแลคเตตกลับไปเป็นกลูโคสผ่านวัฏจักรคอริ ดังนั้นอวัยวะนั้นจะต้องทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพในการกำจัดกรดแลคติกออกจากร่างกาย สารอาหารที่สำคัญจำเป็นอย่างมากสำหรับกระบวนการนี้ เรียกว่าเอาไปใช้ในเฟสที่สองของกระบวนการกำจัดสารพิษ เรียก phase II detoxication
2. การไหลเวียนเลือดและการหายใจ เกิดจากการฝึกซ้อมไก่เป็นหลัก แต่หากรู้จักการใช้สารอาหารเสริมจะช่วยให้การทำงานของระบบไหลเวียนเลือดเกิดขึ้นได้ดีขึ้น สารอาหารบางชนิดจะเข้าไปช่วยให้เกิดการถ่ายเทของออกซิเจนซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการไหลเวียนเลือด ไปสู่ร่างกายและกล้ามเนื้อให้มากเพียงพอ เลือดจะถ่ายเทออกซิเจนเข้าไปสู่ไมโอโกลบินได้มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อสามารถใช้ออกซิเจนในวัฏจักรเครปได้อย่างเพียงพอ ทำให้ไก่ชนได้พลังงานสูงสุด ไก่ชนที่ได้สารอาหารนี้จึงมีความกระปรี้กระเปร่าและอดทนสูง แถมยังได้กล้ามเนื้อที่มีขนาดใหญ่และแข็งแกร่งกว่าเดิม หากต้องการได้รับปริมาณที่มากขึ้น จึงแนะนำให้ใช้ร่วมกับอาหาร “นกบิน” เพราะมีระดับของสารอาหารนี้มากเพียงพอในเชิงบำบัด
เพราะจ้าวพายุมีสารอาหารที่เหมาะสมอยู่หลายชนิด นอกจากจะใช้ได้ดีในการเสริมสร้างสมรรถนะ พลังงาน และสร้างกล้ามเนื้อแล้ว ในลูกไก่จะเป็นประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาไก่ตั้งแต่แรกเริ่ม โอกาสที่จะได้ไก่ที่มีพัฒนาการด้านการสร้างกล้ามเนื้อมากขึ้นจะเกิดได้จากอาหารชนิดนี้
เมื่อจะใช้ “จ้าวพายุ” ก็ต้องรู้จักมันให้ดีขึ้น หากเป็นเซียนไก่ย่อมต้องเข้าใจว่า “นกบิน” นั้นสำคัญอย่างไรในการช่วยเสริมประสิทธิภาพกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น