แสงยูวี (อัลตร้าไวโอเล็ต) กับการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน

8586 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แสงยูวี (อัลตร้าไวโอเล็ต) กับการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน

แสงยูวี (อัลตร้าไวโอเล็ต) กับการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน

โดย หมอแก้ว (ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์   วีระกุล)

ที่ต้องหยิบเรื่องนี้มาเขียนอีกครั้ง ก็เพราะว่าการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานมีมากขึ้น ทั้งนี้ยังรวมไปถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปลา และพืชที่ต้องการแสงยูวี

ผมเคยเขียนเรื่องการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานเมื่อเกือบสิบปีก่อน และในนั้นรวมไปถึงการใช้หลอดไฟเพื่อให้สัตว์ได้รับแสงยูวีที่เหมาะสม การเขียนในครั้งนั้นเป็นช่วงที่ผมกำลังศึกษาการอนุรักษ์เต่าเหลืองหรือเต่าเพ็กที่หมู่บ้านกอก และงูจงอาง ที่หมู่บ้านโคกสง่า ก่อนที่จะมีการสร้างสวนเพาะเลี้ยงอย่างจริงจังอย่างเช่นที่เห็นในปัจจุบัน

จึงเกิดหนังสือขึ้นสามเล่ม แยกเป็นคู่มือเต่าบกและการเลี้ยง งูจงอางและการเลี้ยง สำหรับสำนักงานการท่องเที่ยวไปศึกษารายละเอียด จะได้จัดทำแผนในการอนุรักษ์อย่างเหมาะสม และเล่มที่สามคือเรื่องคลินิกโรคสัตว์เลื้อยคลานสำหรับสัตวแพทย์ เล่มนั้นก็เขียนขึ้นอย่างละเอียดพอสมควร สำหรับการบรรยายของสมาคมผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ และสอนน้องๆ ในเคี่ยวเข้มครั้งแรก ซึ่งไม่น่าจะหาได้ยากตามห้องสมุดคณะสัตวแพทย์ หรือหยิบยืมกันได้


แต่เพราะด้วยเหตุว่า มีบางประเด็นที่อยากจะสรุปง่ายๆ สำหรับคนที่อยากจะเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ถึงความจำเป็นของแสงยูวีที่เราต้องจัดให้ และจะเลือกใช้แบบไหน ยี่ห้อไหนดี อรัมภบทเรื่อยเปื่อยเข้าเรื่องกันดีกว่า...


แสงยูวีจะมีความยาวคลื่นแสงระหว่าง 200 nm ถึง 400 nm และมันจะยังแตกออกเป็นสามชนิดตามช่วงความยาวคลื่นแสง ได้แก่ แสง UVC 200-280 nm, UVB 280-320 nm และ UVA 320-400 nm ที่ต่ำกว่าแสงยูวี ก็จะเป็นแสง X-ray จะยาวกว่าก็จะเป็นช่วงแสงที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เช่น แสงอินฟราเรด ซึ่ง UVA นั้นก็มองเห็นได้

 
แสง UVA
คือช่วงแสงที่เรายังมองเห็นได้ มีความสำคัญกับสัตว์และมนุษย์ครับ แสงนี้จะกระตุ้นให้เกิดการกินอาหาร เกิดกิจกรรมตามธรรมชาติ เช่น การออกหากิน หรือการหลับพักผ่อน แล้วแต่ว่าเป็นสัตว์หากินยามใด การผสมพันธุ์ และอื่นๆ


แสง UVB
คือช่วงแสงที่สำคัญมาก แต่เป็นช่วงที่เราไม่สามารถมองเห็น แสงชนิดนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายมีการสังเคราะห์ไวตามิน D3 ซึ่งเราท่านทราบกันดีว่ามีผลต่อเมตาบอลิซึมของการสร้างกระดูก

แต่อย่างไรก็ตามงูส่วนใหญ่นั้น ไม่ได้ต้องการแสงยูวีชนิดนี้ เพราะจะได้รับไวตามิน D3 จากตับของเหยื่อ

แต่ก็ยังมีงูบางชนิดที่ต้องการนะ และหลายๆ ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด ผู้เลี้ยงก็ต้องศึกษาเป็นชนิดๆ ไป  เช่น พวกไพธอนนี่ก็ต้องการแสง UVB รวมไปถึงเต่าและกิ้งก่าทั้งหลายนั้นต้องการ UVB จึงขาดไม่ได้เลย

ส่วนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำยังไม่ชัดเจน แต่รายงานส่วนใหญ่กล่าวว่าไม่ต้องการแสงชนิดนี้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าท่านจะเลี้ยงแบบไหนอย่างไร พึงทราบว่าแหล่งของไวตามินมาจากสองทางคือ จากแสง และจากอาหาร ก็ต้องจัดเตรียมให้พร้อมทั้งสองทางเสมอ


แสง UVC
คือช่วงแสงที่มองไม่เห็นเช่นกัน แต่ดูเหมือนว่าจะไม่จำเป็นสำหรับเหล่าสัตว์เลื้อยคลานครับ เพราะแสงนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในห้องผ่าตัด ห้องที่มีโอกาสติดเชื้อ หรือตู้เขี่ยเชื้อในห้องทดลอง เพราะสามารถทำลายแบคทีเรียได้ และเป็นอันตรายต่อเรา หากความเข้มข้นสูงมากๆ

 แหล่งของยูวีอยู่ที่ไหน

  • แสงอาทิตย์เป็นแหล่งสำคัญ

    หากเลี้ยงกลางแจ้งก็ไม่จำเป็นต้องใช้หลอดใดใดเข้ามาช่วย แต่ถ้าเลี้ยงในร่ม ก็จำเป็นอย่างยิ่งเลย จำเป็นอย่างไร

    ผมยกตัวอย่างเคสอีกัวน่า อีกัวน่าเป็นตัวที่มีปัญหาเรื่องเมตาบอลิกของกระดูกง่ายมากๆ เมื่อเจ้าของให้แสงไม่เหมาะสม ทั้งไม่เคยโดนแดดเลย หรือใส่หลอดไฟที่ให้ความยาวคลื่นแสงไม่พอเหมาะ หรือไม่มี UVB ไม่เกิน 6 เดือน อีกีวน่าตัวนั้นจะเริ่มกระปวกกระเปียก ตกราว ตกตึก แข้งขาหัก พอจะซ่อมกระดูกมันก็ยาก เพราะบางมากๆ แล้วหลอดอะไรล่ะที่มันเหมาะสม...

หลายคนเมื่อคิดจะเลี้ยงก็อาจจะเดินตามตลาด ร้านขายหลอดไฟ แม้กระทั่งจตุจักร และอาจจะโดนหลอกขาย เพราะอยากซื้อ ไม่มีความรู้ และคนขายก็อยากขาย และอาจจะไม่มีความเข้าใจจริงๆ

สิ่งที่เราต้องตระหนักให้มากคือ หลอดไฟทั่วไปที่เป็นหลอดอินแคนเดสเซ้นท์ทั้งหลายไม่ได้ให้แสง UVB อาจจะเหมาะกับงูหลายๆ ชนิดที่ต้องการแค่ความร้อนสร้างความอบอุ่น (เพราะเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อม)

บางยี่ห้อเขียนไว้เลยว่า Reptile incandescent light นั่นแหละเราจะยิ่งเข้าใจผิดไปใหญ่ และเชื่อใจอย่างสนิททีเดียว แบบนี้ไม่เหมาะกับเต่าและกิ้งก่าแน่ๆ หากจะกล่าวเป็นภาษาชาวบ้าน ก็อาจจะบอกว่ามันไม่ Full spectrum คำนี้ก็คือ มันต้องมีทั้งแสงยูวี A และB นั่นเอง

หลอดที่เรายิ่งมั่นใจว่าให้แสงยูวีแน่ๆ คือฟลูออเรสเซ็นส์ แต่ก็จะเตือนว่าไม่ใช่หลอดชนิดนี้ทุกชนิดให้แสง UVB เพราะเขาก็อาจจะหาอะไรปิดกั้นแสงชนิดนี้ ให้มันลดลงในขนาดที่ไม่ทำร้ายคน ซึ่งก็อาจจะมีความเข้มไม่พอสำหรับการสังเคราะห์ไวตามิน D3

นอกจากนี้หลอดที่ว่าใช่แล้ว สมบูรณ์ที่สุด แต่เมื่อนำมาติดตั้ง ดันเอาไปซ่อนในพลาสติก จะใสหรือมีสีก็ตาม แสง UVB ถูกกรองหายไปเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วจะมีประโยชน์อะไร ส่วนใหญ่จึงเป็นตะแกรงกั้นไว้เท่านั้น สำหรับพวกที่ชอบปีนป่ายเท่านั้นแหละ

อีกอย่างที่สำคัญคือระยะจากหลอดไฟถึงจุดที่สัตว์จะมาอาบแดดหรือาบแสงนี้สำคัญเหมือนกัน แบบไอเดียลสมบูรณ์แบบเลยคือระยะ 12 นิ้ว (300 mm) รวมไปถึงอายุการใช้งานของหลอด แม้จะให้แสงแต่ความเสื่อมของ UVB ที่เรามองไม่เห็นเกิดขึ้นเร็วฺ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้